Short Trip in BKK @ New Road
ท่องเที่ยวยุค COVID 2021 “Real Trip ไม่ใช่เที่ยวทิพย์”
สะบายดี ชาวnet ทุกคน…คิดถึงกันบ้างป่าวคะ ..ต้องขออำไพเป็นอย่างสูงที่ห่างหายจากการ post เรื่องราวไปน้านนนนนนาน? ด้วยเหตุผลเดียวค่ะ..เรื่องราวที่มี stock อยู่ยังไม่โดนใจ เลยไม่อยาก post/แผนการท่องเที่ยวที่วางไว้ ถูกพับเก็บแล้วพับเก็บอีก จนกระแส เที่ยวทิพย์ ติดเทรนด์-rating ดีมากๆ กันยกใหญ่…เลยเป็นแรงกระเพื่อมให้อยากไปเที่ยวหาเรื่อง(story)ใหม่เพิ่มจ้าา…รีบวางแผนขอใช้สิทธิ์เที่ยวจากลูกสไตล์ ตามใจแม่ 1 วัน…โอ้!!!!!เจ้าความคิดที่แสนล่าช้า???ไม่ทันข้ามซักกี่วัน…รัฐประกาศว่า พื้นที่ที่อาศัยอยู่ติด zone พื้นที่สีแดงเข้ม…ฮือๆๆจะทำจ๊ะใด๋ดีเน่อ…และแล้ว Idea ก็บรรเจิด, ปิ๊งเข้ามาในหมองของสาววัยรุ่นอย่าง 60up …จัดไป…เราไปเที่ยวสถานที่จริงก็ได้นี่ สบายมาก หายห่วง (ยุคก่อนโน้น อาจได้ยินคำว่า สบายบรื๋ออ สะดือโบ๋)…..รับรองว่า ไม่ฝ่าฝืนมาตรการ ศบค. และห่างไกลคุณ covid แน่นอน…..ยังไง ลองอ่านดูนะคะ เผื่อเป็น IDEA สำหรับชาว net ที่อยากไปเที่ยวแบบ Real Trip ได้เปิดหูเปิดตา and relax…ก็ขอประเดิมที่แรกเป็น New Road นะคะ..ไปเที่ยวกันเล้ยยย…
Travel plans: เดินทางท่องเที่ยวยุค COVID 2021 ในกรุงเทพมหานคร/พื้นที่สีแดงเข้ม-ควบคุมสูงสุดแบบ Drive thru โดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ชมวิวทิวทัศน์สองข้างทางของถนน เวลาที่ใช้ไม่จำกัด แล้วแต่ความสามารถที่จะทนนั่งอยู่ในรถได้นานที่สุดแบบม้วนเดียวจบ ไม่แวะ ไม่ช็อป ไม่หิว (ดื่มน้ำได้ค่ะ) and not going to the toilet…อ้อ! อย่าลืมสวม mask ตลอดการเดินทางนะคะ
New Road คือที่ใด
… New Road คือถนนตัดใหม่สายแรกของไทยตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ตามการร้องขอจากชาวต่างชาติกลุ่มยุโรปที่อาศัยอยู่ในเขตพระนคร ให้สร้างเส้นทางบนบกสำหรับการขี่ม้าหรือนั่งรถม้าไปเที่ยวพักผ่อนตากอากาศ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อลดการเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยเหตุขาดการ relax & exercise
การสร้างถนนในสมัยแรก ๆ ใช้วิธีการคือ นำดินจากการขุดคลองมาถมทำเป็นถนน (รอติดตามย้อนรอย “คลอง” ประวัติศาสตร์ชาติไทยกันนะคะ) หลังสร้างเสร็จถนนเส้นนี้ถูกเรียกว่า ถนนใหม่ แต่ชาวฝรั่งจะเรียกว่า นิวโรด ส่วนชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว และชื่อพระราชทานก็คือ “ถนนเจริญกรุง” ที่มีความหมายถึง…ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง…
ถนนเจริญกรุงตอนนอก เป็นเส้นทางที่สร้างให้ชาวฝรั่งมีถนนเพื่อการขี่ม้าฯ เส้นทางเริ่มจากคูเมืองชั้นในจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลดาวคะนอง ในปัจจุบันคือ เส้นทางที่เริ่มจากท่าน้ำถนนตก จนสุดคลองโอ่งอ่าง ตรงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก)
ถนนเจริญกรุงตอนใน คือ ช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามถึงสะพานดำรงสถิต ถูกสร้างขึ้นในเวลาต่อมาด้วยพระราชดำริให้สร้างตึกแถวทั้ง 2 ฟากถนน พระราชทานแก่พระราชโอรสธิดา ปัจจุบันคือ เส้นทางนับตั้งแต่ วงเวียนรด. เส้นทางเริ่มต้นซอยเจริญกรุง 1 จนถึงสะพานดำรงสถิตเช่นกัน
Short trip @ ถนนเจริญกรุง
Travel Guide: ถนนเจริญกรุงทั้งสาย มีความยาวประมาณ 9 กม. น่าจะขับรถเล่น ชมข้างทางริมถนนซ้ายขวาได้อย่างสบายชิล ๆ แต่ให้บังเอิญว่า สถานการณ์จริงช่วงที่ไปเที่ยว เส้นทางจราจรตรงแยกถนนทรงวาด-ถนนข้าวหลาม รถถูกบังคับให้วิ่งแบบ one way น่าจะทำให้เสียเวลาขับรถวนไปวนมาหลายอยู่ โดยส่วนตัวแล้ว 60up อยากจะเดินทางท่องเที่ยว NEW ROAD ในแนวย้อนรอยประวัติศาสตร์ชาติไทยแบบซึ้ง ๆ และให้ได้อรรถรสมาก ๆ เลยขอให้ลูกสาวขับรถพาแม่เที่ยวถนนเจริญกรุง 2 trip ด้วยกันค่ะ …เราเริ่มต้นเส้นทางแรกกันก่อนนะคะ-ถนนเจริญกรุงตอนนอก…ไปกันเลยค่ะ
First Trip
>>> Route/เส้นทาง: ตั้งต้นที่สุดสายถนนเจริญกรุง-ถนนตก ตรงท่าน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พาชาว net เที่ยวสองข้างทางของถนนผ่านภาพที่ถ่ายจากในรถ (ทำให้หลายภาพไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร) ฝั่งขวาเริ่มที่ ซอยสุดท้ายของถนน-ซอยเจริญกรุง 111/ส่วนฝั่งซ้ายสุดถนนคือ ซอยเจริญกรุง 84 ไล่เรียงจนถึงแยกถนนทรงวาด-ถนนข้าวหลาม (ซอยเจริญกรุง 29-ซอยเจริญกรุง 20)
สุดสายถนนเจริญกรุง ฝั่งซอยเลขคี่
ซอยเจริญกรุง 111
ฝั่งซอยเลขคู่
ซอยเจริญกรุง 84
The End 1st Trip: ทุกวันที่ใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนใน กทม.ฯ ผ่านเส้นทาง ตึกรามบ้านช่องและชุมชนต่างๆ พร้อมๆ กับที่รับรู้ว่าแทบทุกแห่งมีร่องรอยเรื่องเล่าขานทางประวัติศาสตร์ชาติแทบทั้งสิ้น แต่ก็แค่เพียงผ่านไปผ่านมา จนวันนี้วันที่ 60up ได้มีโอกาสท่องเที่ยว short trip @ ถนนเจริญกรุงตอนนอก แบบ Drive thru ก็พบเห็นว่า เส้นทางนี้น่าจะเคยเป็นแหล่งค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองมากมาก่อน ชุมชนโดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมกับชาวจีน และยังพอเห็นร่องรอยเดิมของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้ด้วยค่ะ จึงอยากเชิญชวนชาว net เดินทางท่องเที่ยวแบบย้อนรอยประวัติศาสตร์กันบ้างนะคะ…แต่ยังไงอย่าลืมว่า Post หน้า ติดตามอ่านเรื่องราวของถนนเจริญกรุงอีก 1 ตอนนั่นคือ ถนนเจริญกรุงตอนใน ค่ะ..SEE U