ขยะสะสม รายการที่ 3: พลาสติกในครัว

# ชีวิตวิถีใหม่ วันนี้ ณ ประเทศไทย
# New Normal: Today @ Thailand

ตั้งแต่ต้นปีใหม่ 2563 พวกเราชาวไทยได้ข่าวเรื่องคุณไวรัสอู่ฮั่นลอยเข้าหูมา ก็รู้สึกตื่นเต้นผสมปริวิตกเล็กๆ แต่ก็ทำเป็น ใจเย็น นิ่งๆ form ไว้ก่อน..อิอิ..แม้ว่าใจจะเต้นตุ๊มๆ ต่อมๆ …จนผ่านเลยมาถึงเดือนมีนาคม เกิดปฏิกิริยา””ลืมตัว สติแทบขาด ความตื่นเต้นเปลี่ยนเป็นตื่นตกใจ กลัวคุณไวรัสอู่ฮั่นจะเข้าประชิดถึงตัว…และแล้วก็เกิดปรากฎการณ์ #อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ กันยกใหญ่ ทำให้ #Hashtag กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ฮิตติดลมกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะต่อมาเราก็เจอกับ #เกาะติด COVID-19 และในตอนนี้พวกเราก็ได้รู้จัก # New Normal “ชีวิตวิถีใหม่” ใช่ค่ะ วิถีใหม่จริงๆ

หลังการมาเยือนของคุณ COVID-19 ทำให้ขยะสะสมจำพวกถ้วยชามช้อนพลาสติกยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ ”” จึงเป็นคำตอบว่าได้ฤกษ์งามยามดีแล้วที่ 60up จะได้ post เล่าเรื่องขยะสะสมรายการที่ 3: พลาสติกในครัว ซะที และก็เช่นเคยนะคะนอกจากจะมีภาพหน้าตาเจ้าภาชนะพลาสติกมาให้ชมแล้ว จะมีความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องการใช้พลาสติกกับอาหารให้ปลอดภัย ที่อยากให้ชาว net รู้เท่าทันค่ะ…..

เรื่องที่ 1 ว่าด้วยยุคทองของพลาสติกใส่อาหาร

@ ยุค Tupperware: จำได้ว่ารู้จัก Tupperware ขณะเป็นนิสิตและเด็กหอ แม้ว่าราคาจะค่อนข้างแพง แต่ในสมัยนั้นมันเป็นของใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเป็นอย่างมาก ด้วยเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิด polyethylene (PE) ที่มีรูปลักษณ์สีสันสวยงามน่าใช้ น้ำหนักเบา ทนทาน ไม่แตกหักง่าย ปลอดภัยเมื่อใช้เก็บอาหาร และไร้กลิ่นอาหารตกค้าง อีกทั้งยังมีจุดขายที่ช่วยให้ตัดสินใจซื้อได้ง่าย นั่นคือ การรับประกันตลอดชีพ สามารถแลกเปลี่ยนชิ้นใหม่ได้กรณีแตกหัก เรียกว่าเป็น Tupperware fever กันเลยก็ว่าได้ค่ะ ที่สำคัญมีเทคนิควิธีการที่จะได้เป็นเจ้าของแบบเสียตังค์น้อยหน่อย นั่นคือ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อจะได้ส่วนลดราคาสินค้าที่ซื้อ และผลพลอยได้จากการเป็นสมาชิกในครั้งนั้น ทำให้ 60up ได้เรียนรู้วิธีการขายสินค้าแบบ Direct Sale ครั้งแรกในชีวิต วิธีการก็คือ จะมีการจัดปาร์ตี้แสดงสินค้าและช่วยสมาชิกขายสินค้านำโดยหัวหน้าทีม ที่เรียกว่า Home party

-กล่องขนมปัง-
-ทำไอติมhomemade-
-เก็บรักษาผักสดไว้ได้นาน-

@ ยุค Lock&Lock / Superlock: ยุคที่ลูกและเด็กๆ Gen Y รู้จักสินค้ากลุ่มนี้ดี กลุ่มภาชนะใส่อาหารที่ผลิตจากพลาสติกชนิด co-polyester (Tritan) มีความโปร่งใสแบบแก้ว ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเข้ามานอกจากความเบาและความคงทน จุดขายที่โดนใจวัยรุ่นก็คือ เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท healthy kitchen life มีระบบฝาล็อกที่แน่นหนา ทนทานต่อแรงกระแทก และช่วยรักษาความสดของอาหารและเครื่องดื่มไว้ได้ยาวนานเพราะเป็นระบบสุญญากาศ Air tight 100% สินค้าขายดี ได้แก่ กล่องข้าว และปิ่นโต

@ ยุค Food delivery: ณ วันนี้ คนเมืองกรุงส่วนใหญ่รวมถึง 60up และลูกทั้ง 2คน สนุกสนานกับการสั่งอาหารผ่าน application ว่ากันเป็นรายมื้อทีเดียว วิธีสั่งซื้อก็มีตัวเลือกค่าส่งอาหารจากกลุ่ม Bike หลายเจ้ามาก ทั้ง foodpanda/ Get! / GrabFood / HappyFresh / Honestbee /Now / LINEMAN หรือ SKOOTAR “”” ดูทีท่าว่า น่าจะเป็นสงครามย่อยๆ ของธุรกิจ“ส่งอาหาร” แบบ Food Delivery หรือ Food on demand แน่ๆ เลย….ผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้จึงตกแก่ผู้สั่งอาหารอย่างเราๆ ท่านๆ กัน…จนบางครั้งใจดีแจกทิปแถมให้คนส่งอาหารซะอีกด้วย…

เหตุของการสั่งอาหารแบบ Delivery นี่แหละค่ะ ทำให้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) กลับเข้ามามีบทบาทอย่างมากอีกครั้งหนึ่ง มีผู้เก็บสถิติไว้ว่า ขยะพลาสติกเหล่านี้ อาทิเช่น กล่องใส่อาหาร กล่อง/ซองแยกชนิดเครื่องปรุงรส แก้วใส่เครื่องดื่ม ตะเกียบ ช้อนและส้อมพร้อมซอง เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ชิ้นต่อการสั่งอาหารในแต่ละครั้งต่อครัวเรือน ส่งผลกระทบกับการประกาศรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า supermarket และร้านสะดวกซื้อ ของรัฐบาลที่เพิ่งจะ D-day ไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา และ Roadmap Project ใหญ่ยักษ์อีกเรื่องนึง นั่นคือ การนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% ภายในปี 2570 โดยใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้น Reduce Reuse และ Recycle…นับว่าการมาเยือนของคุณ COVID-19 เป็นอุปสรรคที่สร้างภาระงานที่หนักอึ้งให้กับรัฐบาลทีเดียวเชียว…มันเป็นเรื่องสุดวิสัยที่หลีกเลี่ยงยากมาก…จริงไหมคะ

-สาวก Starbucks-

เรื่องที่ 2 ว่าด้วยสัญลักษณ์ที่ควรรู้

Question! …ทราบหรือไม่ว่ากล่องพลาสติกใส่อาหารที่เราสั่งแบบ delivery นั้นมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่หรือเปล่า…..

Answer: สำหรับ 60up เองก็ขอตอบว่า เสียใจ เรื่องคิดถึงความปลอดภัยนั้นลืมไปเลย ลืมเช็คจริงๆ ค่ะ…..ก็เลยรีบไปค้นคว้าหาเรื่องเกี่ยวกับ การตรวจสอบความปลอดภัยของภาชนะพลาสติก มาฝากกันค่ะ..

……เรามาตรวจสอบพร้อมๆ กันนะคะ เริ่มจากให้สังเกตและหาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ แล้วแปลความหมายตามรูปภาพต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

#สัญลักษณ์และเครื่องหมายแสดงความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร แบ่งไว้ 4 ระดับ

ระดับที่ 1

ปลอดภัย
(✓, Safe)
เบอร์ 2 HDPE เบอร์ 4 LDPE เบอร์ 5 PP
ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกแข็ง ขวดนม ขวดน้ำยาสระผม ถุงขยะหนา recycle เป็นถุงพลาสติก/ขวดโยเกิร์ต ชนิดที่ยืดหยุ่นได้ดี ทนทานต่อสารเคมี recycle เป็นถุงพลาสติกแบบบาง/พลาสติกแร็ป/ถุงดำ/ถุงขยะ ชนิดที่ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงได้ – ขวดซอส ขวดยา ภาชนะ recycle เป็น ถุงร้อนใส/กล่องอาหารเข้าไมโครเวฟ/แก้วน้ำแบบแข็ง

ระดับที่ 2

ปลอดภัย
(✓, No reuse, ห้ามใช้ซ้ำ)
เบอร์ 1 PET/ PTET พลาสติกโปร่งใส – ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำผลไม้ ขวดน้ำมันพืช, โซดาและน้ำผลไม้ขวด ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) เนื่องจากอาจพบการสะสมของแบคทีเรีย ต้องทำความสะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ (แต่ไม่แนะนำ)

ระดับที่ 3

อันตราย
(✗, Danger)
เบอร์ 3 PVC/V เบอร์ 6 PS เบอร์ 7 อื่นๆ
พลาสติกประเภทท่อน้ำ ท่อหุ้มสายไฟ หรือสายยาง recycle เป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร/ของเล่นพลาสติก/พลาสติกห่อหุ้มอาหาร/ท่อพลาสติก พลาสติกโปร่งใส ทนต่อกรดและด่างไอน้ำผ่านได้ – กล่องโฟมใส่อาหาร/แก้วน้ำดื่ม/แผ่นฉนวน recycle เป็น จาน แผงไข่ไก่ กล่องซีดี เป็นต้น พลาสติกต่างชนิดผสมกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า recycle เป็น ขวดน้ำ กล่องและถุงบรรจุอาหาร กระสอบปุ๋ย ถุงขยะ

ระดับ 4

ระบุไม่ได้ ? Unknown, ไม่มีเบอร์ ไม่ควรใช้กับอาหาร ยกเว้น กลุ่มเมลามีน ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ

#สัญลักษณ์ภาพแสดงการใช้งานภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะสม

Food Grade Plastic ทำจากพลาสติกที่ใช้สำหรับการบรรจุอาหาร ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
Microwave Safe ผ่านการทดสอบแล้วปลอดภัยเมื่อใช้กับเตาไมโครเวฟ (+110c)
Freezer Safe ผ่านการทดสอบแล้วปลอดภัยเมื่อใช้กับช่องแช่แข็ง (-20c)
Water Leak Proof ปิดสนิทป้องกันการรั่วซึมของน้ำจากภายในสู่ภายนอกผลิตภัณฑ์
Dishwasher Safe ผ่านการทดสอบแล้วสามารถใช้กับเครื่องล้างจานได้อย่างปลอดภัย

เรื่องที่ 3 ว่าด้วยขยะสะสมของจริง: ช้อนพลาสติก

ชุดช้อนส้อม (Cutlery)

ช้อนไอศกรีม (ice-cream spoon)

ส้อม (fork)

ช้อนขนม (Dessert spoon)

ช้อน&ส้อมแบบพับ -พกพาได้สะดวก-

ช้อนพลาสติกใช้งานเฉพาะกรณี

-ทานผลไม้เปลือกบาง: กีวี-
-สำหรับแกะเกาลัด-
-ช้อน Little Big-
สำหรับขนมตัก, ชา/กาแฟ
-ช้อนคนกาแฟร้อน-
-สาวก Starbucks-
-สาวก herbalife-
-สำหรับขนมJelly-

ช้อนกึ่งส้อม /ช้อนปลายส้อม (Spork)

ช้อนสวย

-ช้อนชา/กาแฟ-
-setช้อน-
-ช้อนสำหรับเด็ก-
-ของชำร่วยงานแต่งงาน-

เรื่อง post ฝากชาว net ท้ายสุด… ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก…

  1. แปรรูปเป็นเส้นใยเพื่อการทอเป็นผ้าไตรจีวร โดยใช้พลาสติกเบอร์ 1 @ วัดจากแดง สมุทรปราการ
  2. ทำแผ่นหลังคา โครงการหลังคาเขียวจากกล่องเครื่องดื่มที่ recycle ไม่ได้ @ บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด สมุทรปราการ

“”พบกับเรื่องราวดีๆ ใน post หน้านะคะ“”