ขยะสะสม รายการที่ 4: ถามหา ของดีในปฏิทินเก่า

ขยะสะสมรายการที่ 4 จากกิจกรรมรื้อของ-จัดบ้านช่วงคุณ COVID-19 มาเยือน เป็นขยะที่ตั้งใจเก็บไว้เพราะภาพในปฏิทินมีเรื่องราวน่ารู้น่าเก็บบันทึกไว้มากๆ

ปฏิทินฉบับแรกที่เริ่มสะสมเป็นปฏิทินปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) และได้เก็บไว้เรื่อยๆจนถึงปีปัจจุบันปี พ.ศ.2563 ก็ล่วงเลยมาเพียง 22 ปีเท่านั้นเองค่ะ หลังการ post สิ้นสุดปฏิทินเหล่านี้จะถูก pack ส่งไปยัง ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อการผลิตสื่อการสอนอักษรเบรลล์.. ร่วมอนุโมทนา/รับบุญกันถ้วนหน้านะคะ

และแล้วเส้นทางการเล่าเรื่องราวดี ๆ ที่ได้จากปฏิทินขยะสะสมอีกรายการหนึ่งที่ 60up ภูมิใจก็เป็นจริง เมื่อมี web page เป็นของตัวเอง ชาว net ลองอ่านดูนะคะ จะได้ทราบว่า Why asking for the old CALENDAR?

รู้จัก keyword ปฏิทิน

คำว่า ปฏิทิน “แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี” ระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น มาจากภาษาบาลี “ปฏิ แปลว่า เฉพาะหรือสำหรับ” รวมกับ “ทิน ที่แปลว่า วัน” และตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า calendar ปฏิทินที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะ และในรูปแบบ Planner Calendar

กำเนิดปฏิทิน

ยุคแรก: สันนิษฐานว่าชาวกรีกใช้คำว่า kalend: คำทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า และการประกาศว่าวันไหนเป็นวันเริ่มต้นใหม่เพื่อแจ้งถึงรอบการจ่ายเงินของลูกหนี้ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “I cry” ต่อมา ชาวบาบิโลเนียได้กำหนดให้มี วัน เดือน ปี โดยใช้การเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ซึ่งก็คือ การเกิดข้างขึ้นและข้างแรมนั่นเอง เมื่อเกิดข้างขึ้นข้างแรมครบ 1 รอบ ให้เรียกว่าครบ 1 เดือน เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดเป็น 1 ปี ด้วยเหตุผลว่า เมื่อใดที่เกิดข้างขึ้นและข้างแรมครบ 12 รอบ จะพบว่าฤดูกาลก็จะเวียนกลับมาครบรอบอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน ส่วนการนับวันน่าจะมาจากการนับระยะเวลาที่มองเห็นดวงจันทร์ (บางตำราว่าดวงอาทิตย์) ตั้งแต่เริ่มขึ้นจนครบรอบขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าเท่ากับ 1 วัน ปฏิทินแบบนี้ถูกเรียกว่า ปฏิทินแบบจันทรคติ

ยุคที่สอง: ปฏิทินแบบจันทรคติของชาวบาบิโลเนียถูกนำมาใช้ในอาณาจักรต่าง ๆ และได้กำหนดให้ 1 ปี เท่ากับ 355 วัน แต่ในเวลาต่อมาพบว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ มักจะมาถึงเร็วกว่าปีปฏิทินที่ได้กำหนดไว้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ “วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน” เคยเกิดขึ้นจริงในวันที่ 11 มีนาคม แต่ปีปฏิทินได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งล่าช้ากว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงถึง 10 วัน จนกระทั่งมาถึงสมัยของ จูเลียส ซีซาร์ จักรวรรดิแห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการนำแนวคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส-Sosigenes มาปรับปรุงปีปฏิทินใหม่ จึงทำให้หนึ่งปีมี 365 วัน เรียกปฏิทินแบบนี้ว่า ปฏิทินแบบจูเลียน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนวันในปฏิทินกันอีกหลายระลอก เริ่มจากการกำหนดให้ ทุกๆ 4 ปี ต้องเพิ่มจำนวนวันเข้าไป 22 วัน เพื่อให้ตรงกับปรากฎการณ์จริงที่เกิดขึ้น ถัดมามีการนับระะยะเวลา 1 ปีเต็ม ให้เท่ากับ 365.24224 วัน ดังนั้น การนับจำนวนวันในปีที่ 1-3 มี 365 วัน และในปีที่ 4 มี 366 วัน แต่ 1 ปีก็ยังคงมี 12 เดือนเช่นเดิม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็น วันขึ้นปีใหม่ เรียกปฏิทินแบบนี้ว่า ปฏิทินแบบเกรกอเรียน ในปัจจุบันทั่วโลกก็ยังคงใช้ปฏิทินแบบนี้กันอยู่

กำเนิดปฏิทินไทย

ปฏิทินในเมืองไทยเริ่มมีอ้างอิงการใช้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่เดิมเรียกว่า ประติทิน ประฏิทิน หรือประนินทิน เป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ใช้เพื่อกำหนดเวลาประกอบพิธีทางศาสนาและประเพณีต่างๆ ด้วยได้รับอิทธิพลจากศาสนาของอินเดีย จนถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงปีจุลศักราช 1240 ตรงกับพ.ศ. 2431 ได้มีการนำปฏิทินแบบสุริยคติมาใช้ร่วมกับปฏิทินแบบจันทรคติเดิม โดยกำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน แต่ให้เดือนที่ 1 ของปีเป็น เดือนเมษายน และเดือนสุดท้ายเดือนที่ 12 คือ เดือนมีนาคม และให้ถือเอา วันมหาสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โอรสพระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดชื่อเดือนของไทย โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในรอบหนึ่งปี ซึ่งประกอบด้วย 12 ราศี กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนตามหลักวิชาโหราศาสตร์ ให้คำหน้าเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ คำหลังเป็นคำที่แปลว่า การมาถึง ได้แก่ คำว่า อายน ในเดือนที่มี 30 วัน และ อาคม ในเดือนที่มี 31 วัน ซึ่งก็เป็นที่มาของ ปฏิทินแบบสุริยคติ นั่นเอง

จนถึงสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลงคราม ปี พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปฏิทินตามแบบสากลนิยม นั่นคือ ปฏิทินแบบเกรกอเรียน ทำให้เดือนแรกของปีกลายเป็น เดือนมกราคม และเดือนสุดท้ายเดือนที่ 12 คือ เดือนธันวาคม กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปี ปฏิทินแบบนี้ถูกใช้ต่อๆ กันจนถึงปัจจุบัน

การใช้ประโยชน์จากปฏิทินในปัจจุบัน มีความหมายอย่างมากสำหรับคนกลุ่ม working people เพราะพวกเขาจะใช้ตารางรายเดือนที่แจ้งวันหยุดราชการและวันสำคัญทางศาสนา เป็นเครื่องมือวางแผนการลางาน การจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางทำธุระหรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดอย่างคุ้มค่า เช่น ขอลากิจ 3 วัน แต่อาจจะได้พักผ่อนจริง 9 วัน และการจองที่พัก/ตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าที่ได้ราคาถูกโดยเฉพาะช่วงที่มี promotion เหล่านี้เป็นต้น

ของดีในปฏิทิน

ปฏิทิน ปี พ.ศ. 2542/1999

ปีเริ่มต้นสะสม ปีแห่งการจดจำ
ปีนั้น 60up ยังเป็นพลเมืองคนลำพูน ครูสอนวิลัยเกษตร
ปฏิทินชุดนี้ใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนสำหรับนักศึกษายุค no digital

ปฏิทิน ปี พ.ศ. 2549/2006

เรื่องในภาพบอกเล่า พระอัจฉริยภาพและ
พระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์
ผู้ทรงคุณอันไพศาลแก่พสกนิกรชาวไทย

ปฏิทิน ปี พ.ศ. 2557/2014

ภาพปฏิทินชุดนี้ แสดงยางรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับยานพาหนะแต่ละประเภท ได้แก่ รถแทรคเตอร์ รถสะเทินน้ำสะเทินบก รถบรรทุก/พ่วง/โดยสาร รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถจักรยาน

ปฏิทินปี พ.ศ. 2558/2015

ภาพปฏิทินชุดนี้ มีข้อความที่ไพเราะ และส่งเสริมพลังบวก

ปฏิทินปี พ.ศ. 2559/2016

ภาพในปฏิทินชุดนี้ แสดงความหมายในเชิงสัญลักษณ์จากดอกไม้

ปฏิทินปี พ.ศ. 2559/2016

ภาพปฏิทินชุดนี้ ชื่อว่า ราษฎร์สดุดี นพภูมินทร์

พระบรมราชสัญลักษณ์
เรือพระที่นั่งประจำรัชกาล
เรือนยอด: ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี พ.ศ.๒๕๕๙
พระมหาธาตุเจดีย์: ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ พ.ศ.๒๕๓๐
พระบรมรูป ณ ป.อินเดีย วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์: ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗ รอบ
ช้างเผือกช้างแรก ภายใต้ร่มพระบารมี
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ: ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี พ.ศ.๒๕๓๙
พระราชอาสน์: ทรงครองราชย์ครบ ๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๙
พระมหาธาตุ ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
สัญลักษณ์พระราชสมัญญา ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ”
สวนหลวง ร.๙ : ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ พ.ศ. ๒๕๓๐
พระคทา แสดงถึงความจงรักภักดีของข้าราชการทหาร

ปฏิทินปี พ.ศ. 2560/2017

ภาพปฏิทินชุดนี้ ชื่อว่า หยุดความเจ็บปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม

การประเมินความเจ็บปวด
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

ปฏิทินแบบ Diary

ปฏิทินปี พ.ศ. 2561/2018

ปฏิทินชุดสุดท้ายที่นำมาให้ ชาว net ได้ร่วมชื่นชม ปฏิทินฉบับนี้ได้รับจากหลวงพ่อ พระพยอม กัลยาโณ หลังการใส่บาตรในตอนเช้าวันหนึ่ง @ กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง กราบนมัสการเรียนท่านว่า เป็นแฟนคลับหลวงพ่อมาตั้งแต่ 36 ปีที่แล้ว ที่ได้มีโอกาสฟังหลวงพ่อบรรยายธรรม ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน ด้วยลีลาและคำพูดที่เข้าถึงใจ ยังจำคำว่า สมองลูกโป่ง ได้จนถึงทุกวันนี้….กราบงามๆ เจ้าค่ะ

—— ขอให้มีความสุขทุกๆ วัน นะคะ ——